หลายคนอาจรู้จักบัวหิมะในรูปแบบของครีมบำรุงผิว แต่จริงๆ แล้ว พืชชนิดนี้มีสรรพคุณน่าสนใจ และสามารถนำมาปรุงอาหารได้หลากหลายเลยแบบค่ะ
Continue reading “บัวหิมะ พืชหัวที่ไม่ได้มีดีแค่บำรุงผิว แต่ทำอาหารได้มากมาย”สันติอโศก ชุมชนอาหารปลอดภัยในราคาย่อมเยา
ถ้าใครรู้สึกว่าอาหารเพื่อสุขภาพแพงจัง ในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ที่ต้องอดออม ร่างกายเราก็ยังต้องการอาหารที่ดีใช่ไหมคะ อย่างนั้นขอแนะนำสถานที่แห่งนี้เลยค่ะ ที่นี่ไม่ได้เป็นแค่ร้านอาหาร แต่อยู่ร่วมกันเป็นชุมชนใหญ่เรียกว่า “ชุมชนสันติอโศก” ตั้งอยู่ที่ ซ.นวมินทร์ 46 เปิดทุกวัน (ยกเว้นวันจันทร์) โดยจะคึกคักเป็นพิเศษในวันเสาร์-อาทิตย์
Continue reading “สันติอโศก ชุมชนอาหารปลอดภัยในราคาย่อมเยา”ฝึกเด็กกินผักไว้ห่างไกลโรคเบาหวาน
เรียบเรียงจากเนื้อหาบางส่วนของ podcast “ดีแน่แค่กินผัก EP02 : 400 กรัม จำให้แม่น” โดย พ.ญ.ช่อทิพย์ นาถสุภา พัฒนะศรีอายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อและเบาหวานและที่ปรึกษาโครงการกินผักผลไม้ดี 400 กรัม ดำเนินรายการโดย กนกวรรณ กนกวนาวงศ์
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยรายงานว่าอุบัติการณ์การเกิดโรคเบาหวานมีมากขึ้นเรื่อยๆ จากที่เคยมีผู้ป่วยเบาหวานร้อยละ 6-7 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 8.8 ในปี 2557 และปัจจุบันตัวเลขผู้ป่วยก็คาดว่าจะเพิ่มขึ้น
เมื่อ 20 ปีที่แล้วสมัยที่หมอยังเป็นนักศึกษาแพทย์แทบไม่เจอเด็กที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานหรือไขมันพอกตับ ก็เข้าใจว่าเป็นโรคของผู้ใหญ่ แต่พอเรียนจบมาเป็นแพทย์ก็พบว่านอกจากจำนวนผู้ป่วยจะมีมากขึ้นแล้ว อายุผู้ป่วยก็น้อยลงเรื่อยๆ ด้วย
โรคเบาหวานจัดอยู่ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือ NCDs ได้แก่ เบาหวาน หัวใจ ความดันโลหิตสูง ไขมันสูง หลอดเลือดตีบตัน เป็นต้น สาเหตุหลักของโรคมีสองอย่าง คือ กรรมพันธุ์และการใช้ชีวิต แม้กรรมพันธุ์จะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่ก็ใช่ว่าคนที่มีกรรมพันธุ์หรือประวัติครอบครัวจะต้องกลายเป็นผู้ป่วยเสมอไป ถ้าใช้ชีวิตได้ดี กินอาหารดี ออกกำลังกายและควบคุมน้ำหนักตัวได้ดี
และในการรักษาผู้ป่วย ก็ต้องปรับพฤติกรรมควบคู่กับการใช้ยาเท่าที่จำเป็น เพราะหากใช้ยาอย่างเดียวก็จะต้องกินยาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นการปรับพฤติกรรมให้ได้ก่อนป่วยจึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
แต่ในความเป็นจริงชีวิตที่เร่งรีบในปัจจุบัน ก็ทำให้เรากินอาหารนอกบ้านและอาหารสำเร็จรูปกันมากขึ้น เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป แฮมเบอร์เกอร์ ขนมปังหรือข้าวขาว ร้านอาหารตามสั่งมักมีเมนูที่มีข้าวเต็มจาน มีเนื้อสัตว์โปะข้างบน มีผักมาแซมเล็กน้อย แต่แค่นั้นบางคนก็ยังเขี่ยผักออก ในมื้อนั้นจึงได้แต่พลังงานมาสะสมในร่างกาย
ปริมาณผักผลไม้ที่ควรกินนั้น หากวัดจากสัดส่วนในจานข้าวก็ควรมีผักผลไม้ครึ่งจาน, มีคาร์โบไฮเดรตกลุ่มข้าวและแป้งที่เป็นชนิดมีกากใยอยู่ด้วย 1 ใน 4 ของจาน และมีโปรตีนซึ่งอาจเป็นพืช เช่น ถั่ว งา ปนกับเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน อีก1 ใน 4จาน
องค์การอนามัยโลก (WHO) จึงแนะนำให้เรากินผักผลไม้มากกว่า 400 กรัมต่อวัน ถ้าทำได้ก็จะได้ผลดีมีมากมาย สิ่งแรกที่จะเห็นได้ง่าย คือ การขับถ่าย เพราะผักผลไม้มีกากใยมาก หลายคนที่ท้องผูก หากได้ฝึกกินผักผลไม้เพิ่มขึ้นการขับถ่ายก็ดีขึ้น นอกจากนั้นกากใยยังช่วยเลี้ยงแบคทีเรียที่ดีในลำไส้ เพราะมีโรคหลายชนิดเกิดจากแบคทีเรียในร่างกายไม่สมดุล
มีข้อมูลว่าการกินผักผลไม้วันละ 400 กรัม จะช่วยลดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคเบาหวาน งานวิจัยในปี 2017 พบว่าการกินผักผลไม้ทำให้อัตราการตายลดลง ซึ่งเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นเพราะยาต่างๆ ที่เรากินในปัจจุบันไม่มีชนิดไหนที่ลดอัตราการตายได้
หมอจึงอยากแนะนำให้กินอาหารที่ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุดและควรมีผักผลไม้เป็นส่วนประกอบหลัก เพราะผักผลไม้มีวิตามิน เกลือแร่ พฤกษเคมี และไฟเบอร์หรือกากใย ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์และจะได้รับต่อเมื่อเรากินเข้าไป ที่สำคัญผักผลไม้ยังช่วยชะลอการดูซึมน้ำตาลเข้าสู่ร่างกาย จึงลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานได้
วิตามินและเกลือแร่ในผักผลไม้ยังช่วยสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย ต่อสู้กับเชื้อโรค ลดการอักเสบและปรับสมดุลของร่างกาย โดยเฉพาะในสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 นี้ ถ้าเราได้รับวิตามินและเกลือแร่อย่างเพียงพอ เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินดี วิตามินอี สังกะสี และซีลีเนียม ก็จะทำให้ระบบภูมิของเราทำงานได้ตามปกติ
การที่เราเริ่มฝึกกินผักผลไม้ตั้งแต่วัยเด็กก็มีความสำคัญ บางครอบครัวให้เด็กกินขนมและนมกล่องซึ่งมีรสหวาน ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงจนกลายเป็นโรคเบาหวานทั้งที่ยังอายุน้อย ฉะนั้นถ้ากินดีตั้งแต่เด็ก ก็จะช่วยลดภาวะโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือ NCDs รวมถึงโรคเบาหวานได้ค่ะ
ติดตามเนื้อหาเพิ่มเติมได้ทาง Podcast : ดีแน่แค่กินผัก
apple podcast: https://is.gd/YDVKlA
castbox: https://is.gd/BujArU
spotify: https://is.gd/EAhT8O